การเตรียมตัวสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI

การเตรียมตัวสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI

คำแนะนำในการสอบกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI
กรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทย (Department of Special Investigation) หรือ ดีเอสไอ (อังกฤษ: DSI) เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เพื่อป้องกัน ปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในการสอบเข้ากรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ. ก่อน แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. การสอบเข้ากรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่ 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 โดยการสอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 โดยการสัมภาษณ์ และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

การเตรียมตัวสอบ

- การสอบข้อเขียน ในประกาศรับสมัคร จะระบุขอบเขตเนื้อหาที่ใช้สอบมาให้ ให้เอาขอบเขตนั้น ไปหาข้อมูลเนื้อหามาอ่านมาศึกษาและควรหาเนื้อหาให้กว้างและลึกกว่าที่ประกาศเพราะจะได้ครอบคลุมเนื้อหาที่ใช้สอบ นอกจากนี้อย่าลืมความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานที่ไปสอบด้วย โดยดูตามประกาศ คุณสมัครตำแหน่งไหน ก็ไปอ่านตามนั้น หลักๆ ที่ทุกตำแหน่งต้องสอบ ก็คือ โครงสร้างกับภารกิจ (น้ำหนัก 30% )
เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ DSI ก็พอ ว่า หลักๆทำอะไรบ้าง โครงสร้างเป็นไงอ่านข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ด้วยก็ดี ถ้ามีเวลาเหลือ ก็ดูเรื่อง คดีพิเศษ ว่าคืออะไร และต่างจากคดีธรรมดายังไง (เช่น ม 21) เพราะคดีพิเศษเป็นอะไรที่คนมักจะนึกถึง เวลาพูดถึง DSI อีกส่วนก็ความรู้ทั่วไป การเมือง เศรษฐกิจ สังคม (น้ำหนัก 20% ) อาจจะดูข่าวย้อนหลัง 3 - 4 เดือน ก็ได้ โดยหาดูได้จากพวกนิตยสารรายสัปดาห์ อย่าง มติชนรายสัปดาห์ และห้องสมุดทั่วๆไปจะเก็บเล่มย้อนหลังไว้ให้อ่าน

- การสอบสัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับดวงด้วยว่าจะเจอกรรมการยังไง ความสามารถด้วย หลักๆก็บุคลิกภาพ ความรู้ ความมั่นใจ ความถ่อมตัว ต้องพอดีกัน ไม่ใช่เก่งซะจนจะเหยียบหัวกรรมการ หรือ ถ่อมตัวซะจนไม่มีอะไรดี การสอบสัมภาษณ์มีทั้งการซักถามประวัติส่วนตัว การศึกษา การทำงานไปจนถึงการทดสอบความรู้ความเข้าใจความสามารถ ในตำแหน่ง และยังรวมไปถึง ความสามารถในการบริหาร จัดการ งานต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กรรมการอาจยกกรณีนึงมาให้ แล้วถามเราว่าจะทำยังไง ฯลฯ
เตรียม ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง หน่วยงาน และ คำถาม-คำตอบ ปกติทั่วไปของการสอบสัมภาษณ์ ให้ดีๆ

ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ
1. ให้แนะนำตัวเอง
2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ
3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน


วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ มีดังนี้คือ
การประเมินครั้งที่ 1 โดยวิธีสอบข้อเขียน (100 คะแนน)
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่วยงาน
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
- ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
การประเมินครั้งที่ 2 โดยการสอบสัมภาษณ์ (100 คะแนน)
พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการ มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ( 200 คะแนน )
2. การสอบสัมภาษณ์ ( 100 คะแนน )
เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง
(1) วิชาความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (60 คะแนน)
- กฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ
- ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สถาณการณ์ปัจจุบันทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประแทศ
(2) วิชาความรู้ความเจ้าใจในบทบาทภารกิจหน้าที่ของหน่วยงาน (40 คะแนน)
- กฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ
- วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารงานของหน่วยงาน
- วิชาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายลักษณะพยาน (100 คะแนน)

รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับ DSI
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ
3 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547
4 แนวข้อสอบ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
5 แนวข้อสอบ พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
6 แนวข้อสอบ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
7 แนวข้อสอบ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
8 แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544
9 แนวข้อสอบระเบียบว่าด้วยรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม
10 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
11 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
12 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
13 แนวข้อสอบความรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม


แหล่งข้อมูลจาก https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/

 ไฟล์ราคา 389 เพิ่ม 100 บาท แถมฟรี ชุดติวสอบ ภาค ก แบบเข้าใจง่าย
หนังสือราคา 789 บวก แถมฟรี MP3บรรยาย และโปรแกรมฝึกทำข้อสอบ ภาค ก 
>รวบรวมจาก
ผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << 
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<

 

แหล่งข้อมูลจาก https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/